จำนอง

ลูกหนี้ชั้นต้น

เจ้าหนี้ฟ้องตาม

1.สัญญาประธาน 213,214 ฟ้องได้ทั้งทรัพย์จำนอง+ทรัพย์อื่นโดยไม่ต้องดูว่ามีข้อยกเว้น 733หรือไม่

2.สัญญาจำนอง 728,729 ผล 7331.ไม่มีสัญญายกเว้น 2.บังคับทรัพย์อื่นไม่ได้

733 ตกลงยกเว้นได้ ไม่ใช่กมเกี่ยวกับสงบเรียบร้อย

2.ถ้าหนี้เดิมขาดอายุความ เช่นขาดอายุความมรดก

ไม่มีสิทธิบังคับเอากับทรัพย์อื่น บังคับได้แค่ทรัพย์จำนองกับดอกเบี้ยย้อนหลังไม่เกิน5ปี

ตาม ม.1754ว3+193/27+745


722 ทรัพยสิทธิไม่รวมจำนอง

731 หนี้จำนองรายหลังถึงกำหนดชำระก่อน

722 หนี้จำนองต้องถึงกำหนดชำระ

สัญญาเช่า ไม่ใช่ภาระจำยอม และหาใช่เป็นทรัพยสิทธิอย่างอื่นไม่เพราะเป็นเพียงบุคคลสิทธิเท่านั้น

แต่เจ้าหนี้ผู้รับจำนองอาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าได้ตาม มาตรา237

รับผิดไม่เกินสัญญาประธาน แต่อาจจำกัดความรับผิดในสัญญาอุปกรณ์ได้


ข้อความในสัญญาจำนอง บังคับว่าต้องมี ไม่มีเป็นโมฆะ

1.704,708 ทรัพย์สินซึ่งจำนอง (โยงมาตรา718-720ได้)

2.จำนวนเงินที่จำนอง


ข้อความที่ไม่มีผลบังคับ ถ้ามีการปฏิบัติตาม ฝ่ายที่เสียเปรียบมาขอให้ศาลบังคับไม่ได้

1.711,712,

2.718 ทรัพย์ ทั้งปวง อันติดพันอยู่กับ ทรัพย์สินซึ่งจำนอง พิจารณาตามหลักส่วนควบทรัพย์ที่เป็นส่วนควบติดไปด้วย


3.แม้มีสัญญายกเว้นแต่ไม่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์อื่น มีสิทธิเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ไม่มีสิทธิได้รับจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น

บุคคลภายนอก

1.ต้องฟ้องตามสัญญาจำนอง

2.724 ว1ว2 เกิดขึ้น มิใช่การบังคับจำนองไม่เข้า733

(724-727 ใช้กับบุคคลที่สามที่มาจำนอง

722 723 ใช้ทั้ง2คน)

724 ว2 คือ ราคาทรัพย์ที่ขายทอดตลาด -(ลบ) ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง,ค่าเจ้าพนักงานบังคับคดี

บุคคลที่สาม

1.702+709+724+733

2.710+734+ปวิพ284

710 การจำนองก่อนหลังไม่ถือว่าระบุลำดับการบังคับจำนอง หรือหากไม่มีการระบุไว้ผู้รับจำนองจะมีสิทธิตาม734


734 ว1 เจ้าหนี้บังคับจำนองไม่พร้อมกัน

734 ว2 บังคับจำนองพร้อมกัน

734 ว3 บังคับจำนองเพียงสิ่งเดียวแต่เป็นทรัพย์ที่มีการจำนองซ้ำ


734 ว1 ผู้จำนองที่ถูกบังคับจำนองจะเกี่ยงให้ไปบังคับเอากับลูกหนี้ชั้นต้นหรือผู้จำนองคนอื่นไม่ได้


734 ว2 ต้องไม่ห้ามตาม734ว ท้าย ถึงบังคับพร้อมได้

734 ว2 หนี้ประธาน คูณ ราคาที่ขายทอดตลาดได้ หาร ผลรวมราคาทรัพย์ทุกสิ่งที่ขายทอดตลาดได้

712+730+732

734 ผู้รับจำนองรายแรก รับจำนองทรัพย์หลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายเดียวของตน ต่อมาผู้จำนองเอาทรัพย์บางสิ่งไปจำนองซ้ำแ่ผู้รับจำนองรายที่2 ถ้าผู้รับจำนองรายแรกบังคับทรัพย์เพียงสิ่งเดียวและเป็นทรัพย์ที่มีการจำนองซ้ำ ทำให้ผู้รับจำนองรายที่2ไม่ได้รับชำระหนี้ กมจึงให้ผูจำนองรายที่2เข้ารับช่สวงสิทธิของผู้รับจำนองรายแรก

710+724+725+726

725 แม้ระบุลำดับไว้ ผู้จำนองด้วยกันก็ไล่เบี้ยกันเองไม่ได้ มีสิทธิแค่ 724 ได้รับใช้คืนจากลูกหนี้เท่านั้น

มีสืิทธิตาม 726 เท่านั้น

682 ว2 ผู้ค้ำหลายคนไล่เบี้ยกันเองได้ ลูกหนี้ร่วม

726 ปลดจำนอง ไม่ใช่ปลดหนี้ประธาน

ผู้จำนองไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองแก่เจ้าหนี้

735 ผู้จำนองตาย ทายาทถือเสมือนหนึ่งเป็นผู้รับจำนอง

721 ค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยต้องเกิดจากการเช่าที่มีอยู่ก่อน ขณะบังคับจำนองมีการเช่ากันจริง ไม่ใช่ค่าเช่าที่อาจคาดหมายได้ว่าจะมีอยู่ในภายหน้า

บังคับจำนอง

1.บอกกล่าวว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลากี่วัน

2.หากไม่มีการชำระหนี้ ฟ้องบังคับจำนอง 728,729

733 ลูกหนี้ตามสัญญาประธาน

711 หลังหนี้ถึงกำหนด สมบูรณ์ แต่หาใช่การบังคับจำนองไม่ ลูกหนี้ต้องใช้ส่วนที่ขาดแม้ไม่มีสัญญายกเว้น

ไม่ใช่บังคับจำนอง มี 3อย่าง

1.724ว1 ผู้จำนองไปชำระหนี้

2.736 738 การไถ่ถอนจำนอง ไม่ใช่การบังคับจำนอง ลูกหนี้ต้องใช้ส่วนที่ขาดแม้ไม่มีสัญญายกเว้น

3.711 ตกลงเมื่อหนี้ถึงกำหนด เข้า321ตีใช้หนี้

728 ต้องบอกกล่าวไปยังผู้จำนองด้วย บอก1.ลูกหนี้ 2. ผู้จำนอง 2คน

728 จดหมายบอกกล่าว
744 (1)มิใช่ 193/9 193/10 745 193/27

จำนำ
747 750 758 761 764 767 769
750 สิทธิ ซึ่ง มีตราสาร สิทธิตามสัญญากู้ยืม สิทธิตามสัญญาซื้อขาย สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ มิใช่สิทธิซึ่งมีตราสาร
เงินที่ฝากกับธนาคารเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแล้ว การที่มอบสมุดเงินฝากให้ธนารคารไม่ใช่การค้ำประกัน ไม่ใช่การจำนำเงินฝากด้วย
ตั๋วเงิน
900 927 967
2 ชนิด
1.ระบุชื่อ มีทั้ง 3 ประเภท
2.ผู้ถือ ไม่มีในตั๋วสัญญาใช้เงิน
3ประเภท
1.ตั๋วแลกเงิน
2.ตั๋วสัญญาใช้เงิน
3.เช็ค

สลักหลังเฉพาะ 917+919 ว1
ระบุชื่อผู้รับสลักหลัง+ลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง
สลักหลังลอย
ลงลายมือชื่อผู้สลักหลังที่ด้านหน้า










มาตรา พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
มาตรา 5
ในพระราชบัญญัตินี้
“คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น
ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของ
สิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การ
อนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ
(2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง
ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่ง
หมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

มาตรา 12
คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น


มาตรา 13
เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
(1) เป็นคู่กรณีเอง
(2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือ
เป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้
เพียงสองชั้น
(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทน
ของคู่กรณี
(5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
(6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 14
เมื่อมีกรณีตามมาตรา 13 หรือคู่กรณีคัดค้านว่าเจ้าหน้าที่ผู้ใดเป็น
บุคคลตามมาตรา 13 ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อน และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา
เหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ เพื่อที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวจะได้มีคำสั่งต่อไป
การยื่นคำคัดค้าน การพิจารณาคำคัดค้าน และการสั่งให้เจ้าหน้าที่อื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ที่ถูกคัดค้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 16
ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 เกี่ยวกับ
เจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอัน
อาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้นั้นจะทำการพิจารณา
ทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ถ้าผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อน
และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(2) ถ้ามีคู่กรณีคัดค้านว่าผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว หากผู้นั้นเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่
คัดค้านนั้น ผู้นั้นจะทำการพิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไป
ชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(3) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่มีคำสั่งหรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นมีอำนาจในการ
พิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นหรือไม่
ให้นำบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคสอง และมาตรา 15 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 19
ถ้าปรากฏภายหลังว่าเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มี
อำนาจพิจารณาทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งการพ้นจากตำ แหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่

มาตรา 21
บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการ
พิจารณาทางปกครองได้ตามขอบเขตที่สิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

มาตรา 22
ผู้มีความสามารถกระทำการในกระบวนการพิจารณาทางปกครองได้
จะต้องเป็น
(1) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
(2) ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่
กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์
(3) นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา ๒๑ โดยผู้แทนหรือตัวแทน แล้วแต่กรณี
(4) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายในราช
กิจจานุเบกษากำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 23
ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้า
เจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น

มาตรา 30
ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่
ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดง
พยานหลักฐานของตน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะ
เห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น
(1) เมื่อมีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหาย
อย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(2) เมื่อจะมีผลทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทาง
ปกครองต้องล่าช้าออกไป
(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคำขอ คำให้การหรือคำแถลง
(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทำได้
(5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
(7) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ

รัฐธรรมนูญ

141 ต้องส่งศาลรธน ทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่าจะมีผู้โต้แย้งหรือไม่
141
บทบังคับเด็ดขาด ต้องส่งเสมอ
141 ผู้ส่ง คือ
ประธานรัฐสภา คนเดียวเท่านั้น
ประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ ประธานรัฐสภา

154 ดุลพินิจ ส่งไม่ส่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับมีคนโต้แย้งไหม
การส่งตาม141 154 กมนั้นผ่านรัฐสภาแล้วเท่านั้น

211 (เดิม 264รธน40)
1.โต้แย้งว่ากมขัดรธน
2. กมต้องเป็นกมที่จะนำมาปรับใช้แก่คดี
3.ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้ง
4.กมที่โต้แย้งต้องขัดกับรธน มาตรา6
5.ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรธนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัตินั้น

211 ใช้ได้ทุกชั้นศาล แต่ต้องก่อนคดีถึงที่สุด

211 ผู้มีอำนาจโต้แย้ง1.ศาล 2.คู่ความ
อำนาจส่งเรื่อง คือ ศาลที่คดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณา
ศาลรธน.ตรวจสอบว่าใครโต้แย้ง
ถ้าศาลโต้แย้ง ศาลรธน.ต้องวินิจฉัยให้เสมอใช้ดุลพินิจไม่ได้
ถ้าเป็นคู่ความ ศาลรธน.มีอำนาจใช้ดุลพินิจ

211 โต้แย้งว่ากมขัดรธน.
1.กมวิธีพิจารณาความ วิพ วิอ
2.กมสารบัญญัติ ปพพ ปอ ล้มละลาย
การโต้แย้ง 211 212 245 257 ต้องบรรยาย
1.กมที่อ้างว่าขัดชื่อ
2.มาตรา
3.ขัดกับรธนมาตราใด
ศาลรธนมีอำนาจหยิบยกมาตราที่คู่ความไม่ได้อ้างมาวินิจฉัยได้

โทษจำคุกตาม102(5) โทษจำคุกตามหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
คนที่เ็ป็นสวได้115(5) ห้าม บุพการี คู่สมรส บุตรของสส ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิได้หมายความรวมถึงส.ว. แต่หมายถึง ผู้ดำรงคำแหน่งทางการเมืองอื่นเท่านั้น
115(5) มิได้มีเจตนารมณ์ว่าเมื่อสามีภริยาคนใดเป็นสวแล้ว จะห้ามมิให้สามีภริยาเป็น สว อีก
รธน เดิม266ปจบ214 ส่งศาลรธน.ต้องเป็นการขัดขององค์กร2องค์กรขึ้นไปขัดกัน
ถ้าขัดแย้งในองค์กรเดียวกันจะส่งเรื่องไปศาลรธน.ไม่ได้
องค์กรตามรธน.มีหลัก2อย่าง1.จัดตั้งโดยรธน. และ2.รธน.กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ ต้องครบ2อย่าง
กทม. เมืองพัทยา อบจ อบต เทศบาล ไม่ใช่องค์กรตามรธน.ตาม214
กกต เป็นองค์กรตาม รธน.
กกต.ออกระเบียบไม่ชอบ ฟ้อง
ศาลปกครองตามรธน233 ฟ้องศาลรธน.ไม่ได้
214 ไม่รวม
ศาล ส่งไปศาลรธนไม่ได้
214 รัฐสภา ครม องค์กรตามรธน.
214 มีปัญหาเกิดขึ้นจริงเท่านั้น ปัญหายังไม่เกิดส่งไม่ได้
237 ว2 บทบังคับเด็ดขาด ไม่อาจใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้
การอ้างกมขัดรธม
ก่อนประกาศ 141 154
หลังประกาศ 211 212 245 257
คดีเลือกตั้ง 102 8860/50 115(5) 996/51
ปกปิดบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา





พรบ ละเมิด 39

การฟ้องให้รับผิด พรบ. ละเมิด 39
ฟ้องหน่วยงาน ฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
หน่วยงานของรัฐมีสิทธิไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ ต่อเมื่ิอ1.จงใจ 2.ประมาทเลินเล่อร้ายแรง
กรณีคดีเกิดก่อน 15 พ.ย 39
1.สิทธิหน้าที่ ถือตามกมแพ่งและพาญิชย์
2.วิธีสบัญญัติ(วิธีพิจารณาความ) ถือตามพรบนี้
การไล่เบี้ย
= ออกคำสั่งโดยไม่ต้องฟ้องศาล ตามม.12(คำสั่งนี้เป็นคำสั่งทางปกครองตามม.5พรบ.วิธีปฎิบัติ39)
1.ละเมิดบุคคลภายนอก 8ว1
2.ละเมิดหน่วยงานของรัฐ 10ว1

1.ละเมิดนอกหน้าที่
1.1 ไม่อยู่ใต้พรบละเมิด39นี้
1.2 ฟ้องศาลยุติธรรมเท่านั้น

2.ละเมิดในหน้าที่
2.1ละเมิดเกิดจาก
1.ออก กฏ,คำสั่งทางปกครอง
2.ใช้อำนาจตามกม.
3.ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
4.ละเลยจากการปฏิบัติ
ฟ้องศาลปกครอง 9(3)
2.2ละเมิดเหตุอื่น ละเมิดตามวิอาญา ฟ้องศาลยุติธรรม

ขับรถเก็บขยะชนคน ละเมิดในหน้าที่ ดูว่ามาจากเหตุอะไร

ม.3พรบจัดตั้ง = หน่วยงานทางปกครอง เทศบาล รัฐวิสาหกิจ
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่หน่วยงานทางปกครอง เพราะไม่ได้รับเงินจากแผ่นดิน+รัฐบาลไม่ได้ควบคุม แต่ถ้าได้รับมอบหมายก็จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง
เนติบัณฑิต เป็นหน่วยงานทางปกครอง
สภาทนายความ เป็นหน่วยงานทางปกครองโดยสภาพ3เรื่องเท่านั้น
1.อำนาจควบคุม การอนุญาตไม่อนุญาตเป็นทนายความ
2.การวางกฎระเบียบต่างๆ
3.การลงโทษเกี่ยวกับวิชาชีพทนายความ
เรื่องอื่นนอกจากนี้ ไม่เป้นหน่วยงานทางปกครองแต่ถ้าได้รับมอบหมายอาจเป็นได้
ที่ดิน รัฐ+เอกชน พิพาท ฟ้องศาลยุติธรรม วินิจฉัยกรรมสิทธิื
33/45 กทม.สร้างทางด่วนทำให้เสียหายแก่หมู่บ้านจัดสรร ฟ้องศาลปกครอง
กทม.สร้างรุกล้ำที่เอกชน
ขุดถนนรุกล้ำ ขุดลอกท่อคูระบายน้ำทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ออกนส3ไม่ถูกต้องทำให้ที่ดินถูกเพิกถอน กำหนดจุดก่อสร้างสะพานลอยไม่ถูกต้อง เปลี่ยนแปลงรูปแบบสะพาน
ฟ้อง
ศาลปกครอง
ทุจริตต่อหน้าที่,ซ้อมคนร้าย,ผู้บังคับบัญชาให้ลูกน้องขับรถไปตามหน้าที่แต่เหตุเกิดขณะขับกลับบ้าน,แย่งกระเป๋า เป็นละเมิดในหน้าที่
คำสั่งลงโทษทางวินัย เป็นคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครอง กฏ บังคับตามกมเฉพาะ ไม่นำวิธีปฏิบัติ39มาใช้
เว้นแต่ พรบ.วิธีปฏิบัติปี39เป็นคุณมากกว่า
ข้อยกเว้นซ้อน ขั้นตอนการอุทธรณ์การโต้แย้งให้บังคับตามกมเฉพาะเท่านั้น

อำนาจทางปกครอง ต้องเป็นอำนาจบริหารไม่ใช่นิติบัญญัติ
อำนาจบริหารต้อง ไม่ใช่อำนาจรัฐบาล หรือ อำนาจตามตามรธน.


การติดตั้งwordpress(สำหรับผู้ไม่รู้เรื่องคอมเลย)

wordpress จะมี 2 แบบ
แบบที่ 1.
ให้ Blog ฟรี ไม่ต้องไป download wordpress
โดยเข้าไปขอ blogได้ที่ http://wordpress.com/
แบบนี้จะไม่มีให้โหลดplugin
แบบที่ 2.
2.1
Download Wordpress มาใส่ใน Host
(ถ้าใครยังไม่มี Host แนะนำให้ไปสมัครขอใช้ที่http://pr.in.th)
แบบที่2นี้จะมีให้โหลด plugin ด้วยค่ะ(ซึ่งดีมากค่ะ) หรือ
2.2
ต้องจำลองเครื่อง PC ให้มีสถานะเป็น server ก่อน ด้วยโปรแกรม เช่น Appserv หรือ Xampp

ในที่นี้ขอแนะนำการจำลองเครื่อง PC ให้มีสถานะเป็น server ก่อน ด้วยโปรแกรม Xampp

1.
1.1
Download Xampp
ที่ http://sourceforge.net/projects/xampp/files/XAMPP%20Windows/xampp-win32-1.7.2.exe/download
1.2
พอติดตั้งเสร็จแล้ว เราก็ไปที่หน้าคอมของเราจะมีไอคอนสีส้มชื่อ XAMPP Control Panel คลิกเปิดขึ้นมาค่ะ
เพื่อที่จะเปิดใช้งาน Apache เพื่อจำลองเครื่องให้เป็น Web Server และใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL
ให้คลิกปุ่ม Start ที่รายการ Apache และ MySql ทั้ง 2 รายการ
จะมีคำว่า Running ขึ้น คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้จำลองเป็น Web Server สามารถใช้งานเหมือนกับ Web Server ทั่วไป
1.3
เปิด Browser(ตัวที่ใช้เล่นอินเทอร์เนตน่ะค่ะ เช่น Internet Explorer) แล้วพิมพ์ http://localhost/ แล้วกด Enter โปรแกรมจะแสดง Splash Screen ของ XAMPP เลือกภาษาเป็น English
1.4.
พิมพ์ http://localhost/phpmyadmin/ ไปที่ MySQL localhost จะมีช่องสี่เหลี่ยมที่เขียนว่า สร้างฐานข้อมูลใหม่
ให้ตั้งชื่ออะไรก็ได้ค่ะ แล้วกดสร้าง แล้วจำชื่อนี้ไว้เพื่อที่ไปสร้างใน My Computer นะคะ
1.5.
คลิกขวาที่ My Computer
เลือก Explore
คลิกที่ Local Disk(C:)
คลิกที่ xampp คลิกที่ htdocs แล้วตั้งชื่อเดียวกับที่ตั้งชื่อฐานข้อมูลเมื่อกี้นะคะ
ที่นี้เราไปดาวน์โหลด wordpress กันเลยค่ะ

2.
2.1
Download wordpress รุ่นปัจจุบันที่ wordpress.org รุ่นภาษาอังกฤษ,
หรือ http://th.wordpress.org/releases/#latest รุ่นภาษาไทย
2.2
Download แล้วจะเป็น zip ให้แตกzip วิธีแตกzip คือ คลิกขวาที่ตัวที่เราดาว์โหลดมานะคะ คลิกที่ Extract files
คลิกที่ Local Disk(C:) คลิกที่ xampp คลิกที่ htdocs คลิกที่ชื่อฐานข้อมูลที่เราตั้งเมื่อกี้นะคะ แล้วกดOK ค่ะ

3.
3.1
เปิด Browser ขึ้นมาพิมพ์ http://localhost/ชื่อฐานที่ตั้งค่ะ/
ระบบจะบอกว่าหา ไฟล์ wp-config.php ให้กด"Create a Configuration File"
3.2
ระบบจะบอกว่าต้องทำการตั้งค่า
Database Name
Database User
Database Password
Database Host
Table Prefix
กด Let's go
3.3
ใส่ข้อความเหล่านี้ในช่องต่อไปนี้ค่ะ
ช่อง
Database Name ชื่อฐานข้อมูลที่ตั้งไว้
User Name root
Password เว้นไว้ไม่ต้องใส่อะไรเลย
Database Host localhost
Table Prefix wp_(เหมือนเดิมค่ะ)
กด Submit
3.4
ระบบพร้อมแล้วกด Run install
3.5
ใส่ชื่อBlogอะไรก็ได้ ใส่อีเมล์ด้วยค่ะ กด Install Wordpress
3.6
ติดตั้งเรียบร้อยแล้วนะคะ จำ user name กับpasswordไว้ หรือลากเป็นสีน้ำเงินที่ตัวpasswordคลิกขวาที่copy
3.7
กด Log ing เข้าระบบด้วย user name กับpassword ของเรา เอาเม้าท์มาวางที่ช่อง password คลิกขวา ไปที่ paste ค่ะpassword ก็จะอยู่ในช่องแล้วคลิกที่ช่อง Remember Me
กด Log In
3.8
ระบบจะขึ้นด้านบนว่าต้องการเปลี่ยน Password เพื่อให้จำง่ายขึ้นไหม ให้กดYes แล้วเปลี่ยนเป็น password ที่จำได้ง่าย ในช่อง New Password กด Update Profile
เรียบร้อยแล้วค่ะ ทุกอย่างเสร็จสิ้น
ถ้าจะดูหน้าบลอก ไปที่ข้างบนด้านซ้าย กดที่ชื่อบลอก ที่เขียนว่า visit site ก็จะปรากฏหน้าบลอก
อยากเข้ามาที่หน้าdashboard กด site admin ด้านล่างขวามือสุด
ที่เหลือก็แล้วแต่ทุกคนค่ะว่าอยากทำอะไรแล้วค่ะ